ข้ามไปเนื้อหา

ปืน ร.ศ. 121

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลย. 45)

ปืนเล็กยาวแบบ 66 จัดแสดงที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ปืน ร.ศ. 121
ชนิด ปืนเล็กยาว
สัญชาติ  ไทย
สมัย ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
การใช้งาน เหนี่ยวไกปืน
เป้าหมาย ทหารราบ
เริ่มใช้ พ.ศ. 2447
ช่วงผลิต พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2488
ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2503
ผู้ใช้งาน กองทัพสยาม
สงคราม สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กบฏบวรเดช สงครามโลกครั้งที่สอง
ขนาดลำกล้อง 8 มิลลิเมตร
ระยะครบรอบเกลียว
ความยาวลำกล้อง
กระสุน 8×50 มิลลิเมตร แบบ 45
ซองกระสุน 5 นัด
ระบบปฏิบัติการ ลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ
อัตราการยิง
ความเร็วปากลำกล้อง 680 เมตร/วิ (ปลย. 46/66) ~ 620 เมตร/วิ (ปลย. 46)
ระยะยิงหวังผล
ระยะยิงไกลสุด
น้ำหนัก
ความยาว
แบบอื่น ปืนเล็กยาวแบบ 46 (ปลย. 46), ปืนเล็กสั้นแบบ 47 (ปลส. 47), ปืนเล็กยาวแบบ 46/66 (ปลย. 46/66), ปืนเล็กสั้นแบบ 47/66 (ปลส. 47/66), ปืนเล็กยาวแบบ 66 (ปลย. 66)

ปืนเล็กยาว ร.ศ. 121 หรือ ปืนเล็กยาว แบบ 45 (ปลย. 45) เป็นปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ ใช้กระสุนขนาด 8x50 มม. แบบหัวป้าน (8x50 mm. R Siamese Mauser Type 45) เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2445-2446 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากเดิมกองทัพสยามเคยสั่งซื้อปืนเล็กยาว Steyr-Mannlicher M1888 หรือ ปืนเล็กยาว แบบ 33 (ปลย. 33) จากประเทศออสเตรียมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2433 ซึ่งปืนรุ่นดังกล่าวใช้ระบบลูกเลื่อนดึงตรงแบบสองจังหวะและใช้กระสุนขนาด 8x50 mm. R Mannlicher ซึ่งปืนดังกล่าวไม่เป็นที่พึงพอใจในประสิทธิภาพมากนัก จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการออกแบบโดยยึดรูปแบบปืนเล็กยาว Swedish Mauser M1894 ขนาด 6.5×55 มม. ของประเทศสวีเดนเป็นหลัก และด้วยการที่ปืนเล็กยาวรุ่นนี้ใช้ระบบลูกเลื่อนแบบเมาเซอร์ (Mauser) จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษด้วยว่า "Siamese Mauser M1902/M1903"

ประวัติ[แก้]

"บ้านเมืองเราทุกวันนี้เหมือนตั้งอยู่ในหมู่หัวไม้ ถ้าเราไม่เตรียมพลองไว้สู้กับพวกหัวไม้บ้าง พวกหัวไม้ก็ย่อมจะมีใจกำเริบมารังแกอยู่ร่ำไป ถึงโดยจะสู้ให้ชนะจริงไม่ได้ ก็ให้เป็นแต่พอให้พวกหัวไม้รู้ว่าพลองของเรามีอยู่ ถ้าจะเข้ามารังแกก็คงจะเจ็บบ้าง" พระราชดำรัส รัชกาลที่ 5เมื่อ ร.ศ.121 จากการจัดหาอาวุธปืนที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับการพัฒนาการทหารของสยามในขณะนั้น โดยทรงมีพระราชประสงค์ไว้ คือ มิได้เอาอาวุธไปรุกรานใคร แต่เอาไว้ใช้ป้องกันชาติ[1]

การแต่งตั้งคณะกรรมการออกแบบอาวุธปืนรุ่นใหม่ที่จะสั่งซื้อ ประกอบด้วยพันเอกพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชโทพระยาชลยุทธโยธินทร์ (อังเดร ดู เปลซีส เดอ ริชลิว) พลเอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี และพันตรีพระยาสีหราชเดโชชัย สมุหราชองครักษ์ในัชกาลที่ 5 ต่อมาในปีพ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสั่งซื้อปืนเล็กยาวแบบ 66 หรือปืนอาริซากะ (Arisaka) ซึ่งเป็นปืน Mauser M1923 แต่ผลิตโดยญี่ปุ่นเข้ามาใหม่ และได้มีการปรับเปลี่ยนกระสุนจากขนาด 8x50 มม.เป็นขนาด 8x52 มม.หรือ 8x52 mm.R Siamese Mauser Type 66 ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง ปืนเล็กยาวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้อย่างปลย. 45 และปลส. 47 จึงได้นำมาคว้านรังเพลิงเพื่อใช้กับกระสุนใหม่นี้ด้วย และเรียกชื่อใหม่ว่า ปลย. 45/66 กับปลส. 47/66 ซึ่งไทย( ขณะนั้นเรียกสยาม ) ซื้อพิมพ์เขียวจาก เยอรมัน มาจ้างผลิตที่โรงงานสรรพวุธกองทัพญี่ปุ่น โดยปกปิดการดำเนินการด้วยเหตุผลทางการมืองขณะนั้น ที่ฝรั่งเศส-อังกฤษ เข้ามาเป็นเป็นเจ้าอาณานิคมดินแดนเพื่อนบ้าน (ฝรั่งเศส ลาว เขมร: อังกฤษ พม่า มลายู) มีความหวาดระแวง สยาม และญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจใหม่ในทวีปเอเชีย ต่อมาปรับปรุงเป็นปืนเล็กยาวแบบ 66 (ปลย 66: type 66) โดยเปลี่ยนแบบกระสุนเป็น 8x52 มม.(8x52 mm.R Siamese mauser type 66 ) ชนิดหัวแหลม นอกจากนี้ยังมีรุ่นปืนเล็กสั้นที่เรียกว่า ปลส 47.(ปืนเล็กสั้น 47:type 47) คุณลักษณะเหมือน ปืนเล็กยาวแบบ 45 แต่สั้นกว่า ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาพร้อมปืนเล็กยาวแบบ 66 เป็น ปืนเล็กสั้น 45/66.(ปลส 45/66:type 45/66) และ ปืนเล็กสั้น 47/66.(ปลส 47/66:type 47/66) อีกนามหนึ่งของ ปลย. 45และ ปลส. 47 คือ ปืน ร.ศ 121 และ ปืน ร.ศ 123 ตามลำดับ ซึ่งใช้ในยุครัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนชื่อเป็น ปลย. 45 และ ปลส. 47 ในยุครัชกาลที่ 6 แต่บุคคลทั่วไปนิยมเรียก” ปืน ร.ศ (รัตนโกสินธ์ ศก)”[2][3][4][5]

ลักษณะจำเพาะ[แก้]

ปืนเล็กยาว 45/ปืนเล็กยาว 66
ลักษณะทั่วไป ปืนเล็กยาว:ปลย 45-ปลย 66

ปืนเล็กสั้น:ปลส 47-ปลส 45/66-ปลส 47/66

ระบบการทำงาน ลูกเลื่อน แบบเมาเซอร์ 3 ปีกขัดกลอน
ศูนย์หน้า ทรงใบมีด
ความจุ 5+1 นัด
ขนาดกระสุน ปลย 45-ปลส 47

8x50 มม. (8x50 mm.R Siamese mauser type 45) ชนิดหัวป้าน ปลย 66-ปลส 45/66-47/66 8x52 มม. (8x52 mm.R Siamese mauser type 66) ชนิดหัวแหลม

โรงงานผลิต โรงงานสรรพาวุธ กองทัพญี่ปุ่น ที่ โคชิกาวา

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
  2. http://www.weekendhobby.com/gun/webboard/question.asp?page=2&id=3810
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-31.
  4. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=374ab17323168ea0[ลิงก์เสีย]
  5. นิตยสารอาวุธปืน เดือนมิถุนายน พ.ศ 2548